ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง ฮานอย (Hanoi)
ศาสนาประจำชาติ ไม่มีศาสนาประจำชาติ
วันชาติ 2 กันยายน
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
ภาษาประจำชาติ ภาษาเวียดนาม
ภาษาราชการ ภาษาเวียดนาม
ตราแผ่นดิน
แผ่นที่ประเทศ
ดอกไม้ประจำชาติ ดอกบัว (Lotus) หรือเรียกว่า “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ”
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
เวียดนาม มีลักษณะพื้นที่เป็นแนวยาวคล้ายตัว S มีพื้นที่ประมาณ 331,690 ตารางกิโลเมตร (3 ใน 5 ของไทย หรือประมาณ 65%) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน ทางทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับทะเลจีนและอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดกับอ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีน และทิศตะวันตกติดกับประเทศกัมพูชาและประเทศลาว
“ภูมิประเทศ”
พื้นที่ของเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูง (โดยเฉพาะทางภาคเหนือ) คั่นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีชายฝั่งทะเลแคบๆ ที่ยาวจากเหนือจรดใต้
“ภูมิอากาศ”
เวียดนามอยู่ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน ทางภาคเหนือของประเทศจะมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม – เมษายน) ฤดูร้อน (พฤษภาคม – สิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน –พฤศจิกายน) และฤดูหนาว (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้จะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (พฤษภาคม – ตุลาคม) และฤดูแล้ง (ตุลาคม – เมษายน)
ประชากร
มีจำนวนประชากรประมาณ 86 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม รองลงมาจะเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขา และชาวเขมร
การเมืองการปกครอง
เวียดนามปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam : CPV) เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศ โครงสร้างการปกครองของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ สภาแห่งชาติ (The Nation Assembly หรือ Quoc-Hoi) เป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออกกฎหมายต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและถอดถอนประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี
องค์กรฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารประเทศ
รัฐบาลท้องถิ่น (People’s Committee of Province) เวียดนามมีสภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชนประจำท้องถิ่นเป็นองค์กรบริหารสูงสุดประจำท้องถิ่น โดยรัฐบาลท้องถิ่นจะบริหารงานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎระเบียบที่รัฐบาลกลางบัญญัติไว้
ประวัติของประเทศ
• ช่วงประมาณ 700 ปีก่อนพุทธกาล –พ.ศ. 1481 ประเทศเวียดนามตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน ทำให้ได้รับอิทธิพลด้านศิลปวัฒนธรรม การปกครอง และแนวคิดขงจื้อมาจากจีน
• ใน พ.ศ. 2344 เวียดนามได้รับอิสรภาพจากจีน ด้วยความช่วยเหลือจากเมอซิเออร์ ปิกโน เอด เบอาง (Pigneu fe Behaine) มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส และความสามารถของแม่ทัพเหงียน อัน (Nguyen Anh) ซึ่งต่อมาได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิญาลอง
• ต่อมาในสมัยพระเจ้ามิงห์หม่าง มีนโยบายต่อต้านคาทอลิกเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงเวียดนาม และใน พ.ศ. 2426 เวียดนามก็ตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสได้แบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คือ อาณานิคมโคชินจีนในภาคใต้ เขตอารักขาอันนามในตอนกลาง และเขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือี
• ใน พ.ศ. 2484 เกิดเป็นขบวนการเวียดมินห์ขึ้น เพื่อขับไล่ฝรั่งเศสโดยมี โฮจิมินห์ เป็นผู้นำ
• ใน พ.ศ. 2497 เวียดนามทำอนุสัญญาเจนีวา เพื่อสงบศึกกับฝรั่งเศส เป็นผลให้เวียดนามต้องแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือภายใต้การนำพรรคคอมมิวนิสต์ และเวียดนามใต้ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
• ใน พ.ศ. 2503 เกิดสงครามเวียดนาม เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ สงครามนี้ยุติลงได้ด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ ทำให้เวียดนามรวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ชื่อประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
บุคคลสำคัญ
โฮจิมินห์ (Ho Chi minh)
นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ของเวียดนาม เป็นผู้นำการต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสและเรียกร้องเอกราชให้กับประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ยังเป็นผู้รวมเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และหลังจากสิ้นสุดสงครามเวียดนามก็มีการเปลี่ยนชื่อ ไซ่ง่อน (Saigon) เป็นโฮจิมินห์ซิตี (Ho Chi Minh City) เพื่อเป็นเกียรติแก่โฮจิมินห์
นายพล หวอ เหวียนหยาบ (Vo Nguyen Giap)
นักการทหารผู้ยิ่งใหญ่ของกองทัพเวียดนามของโลก เป็นผู้บัญชาการรบในสงครามและเป็นมือขวาคนสำคัญของโฮจิมินห์
เวียดนามกับประชาคมอาเซียน
การรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจในการต่อรองทางการเมืองของอาเซียนได้ ซึ่งหลังจากที่ประเทศสมาชิกทั้งหมดเห็นชอบร่วมกันให้จัดตั้งเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว เวียดนามได้รับมอบหมายให้เป็นประเทศผู้ประสานงานหลักในสาขาโลจิสติกส์ เพื่อเป็นฐานร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเวียดนามอยู่ในระดับที่ดี โดยไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ไทยและเวียดนามมีการวางกลไกในการดูแลความสัมพันธ์ไว้หลายระดับในหลายๆ ด้าน นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกันในสาขาต่างๆ ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง ด้านการค้า (มีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด) ด้านวิชาการ สังคม และวัฒนธรรม
อาหารประจำชาติ
ชุดประจำชาติ
หญิง สวมชุด “อ่าว หญ่าย (Ao dai)” เป็นเสื้อคลุมยาวคอตั้งกับกางเกงขายาว
ชาย สวมชุดที่คล้ายกับผู้หญิงแต่มีกระดุมที่ตัวเสื้อ
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของเวียดนามจะได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส เวียดนามมีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่
เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)” หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของ ถือเป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื้อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย
เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์
สกุลเงิน ด่อง (Dong - VND)
อัตราการแลกเปลี่ยน 700 ด่อง = 1 บาท
21,000 ด่อง = 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น