หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้อมูลประเทศอาเซียน ประเทศไทย (Thailand)






ประเทศไทย (Thailand)



ชื่อทางการ  ราชอาณาจักรไทย (The kingdom of Thailand)
เมืองหลวง  กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ศาสนาประจำชาติ ศาสนาพุทธ   รองลงมา คือ อิสลาม คริสต์ และฮินดู
วันชาติ    5 ธันวาคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน  8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (สมาชิกก่อตั้ง)
ภาษาประจำชาติ ภาษาไทย
ภาษาราชการ  ภาษาไทย






ตราแผ่นดิน

แผ่นที่ประเทศ


ดอกไม้ประจำชาติ ดอกราชพฤกษ์ (Ratrchaphruek)  

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ 
            ตั้งอยู่ในอินโด – แปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 513.115 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ รองจากอินโดนีเซีย และเมียนมาร์ 
ภูมิประเทศ”   ทิศเหนือ ติดกับเมียนมาร์และลาว 
  ทิศตะวันตก ติดกับทะเลอันดามันและเมียนมาร์
  ทิศตะวันออก ติดกับลาวและกัมพูชา
  ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทยและมาเลเซีย
            ประเทศไทยแบ่งออกเป็น ภาค ซึ่งแต่ละภาคมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ดังนี้ ภาคเหนือ มีภูเขาสูง โดยจุดสูงสุดคือดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงแห้งแล้ง ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด ภาคใต้ ติดทะเลทั้งสองฝั่ง มีจุดแคบสุดที่คอคอดกระ ภาคตะวันออก มีชายฝั่งทะเลเรียบยาวและโค้งเว้า ภาคตะวันตก เป็นหุบเขาและและแนวเทือกเขา 
ภูมิอากาศ  แบบเขตร้อน แบ่งเป็น ฤดู คือ ฤดูร้อน (ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม) ฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม) และฤดูหนาว (ช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ซึ่งภาคใต้ของประเทศจะแบ่งเป็น ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูร้อน 
ประชากร 
            มีจำนวนประชากรประมาณ 66 ล้านคน ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยเชื้อชาติหลัก คือ ชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายต่างๆ รองลงมา คือ ชาวจีนและอื่นๆ รวมถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆ ด้วย 
การเมืองการปกครอง 
            ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมีรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารที่สังกัดพรรคการเมืองและมาจากการเลือกตั้งของประชาชน 
       ประเทศไทยแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 76 จังหวัด ไม่นับรวมกรุงเทพฯ(จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดล่าสุดที่ได้รับการประกาศเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2554) 
ประวัติของประเทศ 
• ประวัติศาสตร์ชาติไทยเริ่มจากอาณาจักสุโขทัยนับตั้งแต่ พ.ศ.1781 ซึ่งในอดีตนั้น ไทย มีชื่อว่า สยาม” ซึ่งเป็นคำที่ชาวต่างชาติใช้เรียกอาณาจักอยุธยาเมื่อราว พ.ศ.2000
            • ในขณะนั้น กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมาก จนกระทั่งเสื่อมอำนาจ และเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2310 
             • พระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีอยู่ 15 ปี จนเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้สถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้น โดยมีกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี 
            • ในสมัยรัชกาลที่ 5 การคุกคามของชาติตะวันตก ทำให้ไทยต้องยอมเสียดินแดนบางส่วนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเอกราช ซึ่งสยามถือเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใด 
            • 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 คณะราษฎรได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประประชา 
              • วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482  ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม” มาเป็น ประเทศไทย” 
                • ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยลงนามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น แต่เนื่องจากฝ่ายสัมพันธมิตรให้การยอมรับ ขบวนการเสรีไทย ไทยจึงรอดพ้นจากประเทศผู้แพ้สงคราม
            • เมื่อถึงช่วงสงครามเย็น (ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แพร่ขยายไปทั่วภูมิภาคอาเซียน แต่ไทยก็สามารถรอดพ้นและยุติสงครามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ไทยได้ใน พ.ศ.2523
บุคคลสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
        รัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงครองราชย์ตั้งแต่วันที่ มิถุนายน พ.ศ.2489 จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนม์ชีพอยู่ ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนของชาวไทยพระองค์ทรงเปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพอันหลากหลาย ซึ่งเป้นทีประจักษ์ต่อชาวไทยและชาวโลก

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 
ปูชนียบุคคลของไทยที่เป็นทั้งนักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ ซึ่งองค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลสำคัญของโลกใน 4สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ใน พ.ศ. 2552

พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์ 
ได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรม เป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสวนโมกขพลาราม และมีผลงานปรากฏมากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนาและงานเขียน

ไทยกับประชาคมอาเซียน
            ไทยเป็น ใน ของสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน และมีบทบาทในกิจกรรมของอาเซียนมาโดยตลอด โดยมีส่วนผลักดันให้อาเซียนเกิดโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ เช่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ไทยยังเป็นประเทศผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยว และการบิน เพื่อเป็นฐานร่วมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย
             ประเทศไทยเมื่อราวร้อยปีที่แล้วเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ผลผลิตที่สำคัญที่สุดคือ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งนอกจากการกสิกรรมแล้ว ยังรวมถึงผลผลิตจากป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์และจับสัตว์น้ำด้วย แต่เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนเป็นแบบผลิตเพื่อขายหรือระบบทุนนิยมมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา มูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามลำดับจนแซงหน้าเกษตรในปี พ.ศ.2524
ในปัจจุบันแม้ว่าการเกษตรจะเป็นอาชีพหลักของประชากรไทยในแง่ที่ว่าแรงงานร้อยละ 50 ยังคงทำงานภาคเกษตร แต่มูลค่าของผลผลิตจากการเกษตร (รวมทั้งปศุสัตว์ ประมง ป่าไม้) ที่คิดอยู่ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มีเพียงราวร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมเท่านั้น
        โครงสร้างการผลิตของไทยในปัจจุบันเศรษฐกิจสาขาที่มีมูลค่าสูงสุด คือ อุตสาหกรรม รองลงมาคือ การค้าส่งและค้าปลีก และบริการ (ที่รวมถึงการท่องเที่ยว การให้บริการต่าง ๆ ) การขนส่งและการคมนาคม สาขาการธนาคาร ประกันภัยและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
        แต่การที่ประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังอยู่ในภาคเกษตร ทำให้จริง ๆ แล้วเศรษฐกิจภาคเกษตรของไทยยังมีความสำคัญสูงอยู่ ภาคเกษตรทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในกิจการค้า การแปรรูปอุตสาหกรรม และอื่น ๆ สูง และเกษตรกรเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ การที่โครงสร้างการผลิตของคนไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเกษตรที่ประสิทธิภาพการผลิตล้าหลังและมีรายได้ต่ำ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่าไม่สมดุลและถึงจุดหนึ่งก็เริ่มมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย

อาหารประจำชาติ 

ชุดประจำชาติ
หญิง ชุดไทยจักรี ประกอบด้วยสไบเฉียงเปิดบ่าข้างขวา ชายสไบคลุมไหล่ด้านซ้ายทิ้งชายด้านหลังยาวตามสมควร คาดเข็มขัด และสวมเครื่องประดับ
ชาย ชุดพระราชทาน ตัวเสื้อเข้ารูปเล็กน้อย คอตั้ง ผ่าอกตลอด ติดกระดุม เม็ด มีทั้งแขนสั้นและแขนยาว โดยจะเป็นสีเรียบหรือมีลวดลายก็ได้ ใส่คู่กับกางเกงสีสุภาพ


ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
การไหว้ เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะและให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทาย การไหว้ยังมีความหมายเพื่อการขอบคุณ ขอโทษ หรือกล่าวลาด้วย
โขน เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย มีลักษณะสำคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้น ตัวนาง พระ และเทวดา ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทำนองเพลง ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจา ส่วนเรื่องที่นิยมแสดง คือ รามเกียรติ์
สงกรานต์ ประเพณีเก่าแก่ ซึ่งถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทรายเข้าวัด และก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งมีการเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานด้วย
สกุลเงิน บาท (Bath) ตัวย่อ THB
อัตราการแลกเปลี่ยน ดอลลาร์สหรัฐ = 31 บาท









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก