หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้อมูลประเทศอาเซียน ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)






ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

ธงชาติ
ชื่อทางการ สหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia)
เมืองหลวง กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumper)
ศาสนาประจำชาติ ศาสนาอิสลาม
วันชาติ 31 สิงหาคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (สมาชิกก่อตั้ง) 
ภาษาประจำชาติ ภาษามาเลย์ (Bahasa Malaysia)
ภาษาราชการ ภาษามาเลย์








ตราแผ่นดิน

แผ่นที่ประเทศ


ดอกไม้ประจำชาติ ดอกบุหงารายา (Bunga Raya) 

ลักษณะทางภูมิศาสตร์
            มาเลเซียตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีพื้นที่ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ
         มาเลเซียประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น
มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดกับไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ โดยประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส และ 1 เขตที่ปกครองโดยรัฐบาลกลาง คือ เกาะลาบวน
มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลินมาตัน) มีพรมแดนทิศใต้ติดกับอินโดนีเซียทั้งหมด ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาร์และซาราวัก และ2 เขตที่ปกครองโดยรัฐบาลกลาง คือ กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) ปุตราจายา (เมืองราชการ)
ภูมิอากาศ
            ร้อนชื้นและฝนตกชุกตลอดปี โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสลมจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้

ประชากร
            มีจำนวนประชากรประมาณ 28.3 ล้านคน โดยมีเชื้อชาติหลักคือมลายู รองลงมาคือ จีน อินเดีย และเชื้อชาติอื่นๆ เช่น ไทย ทมิฬ ฮอลันดา อาหรับ เป็นต้น รวมถึงยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิม เช่น โอรังอัสลี อีบาน และคาดาดุนซุน เป็นต้น

การเมืองการปกครอง
            ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เรียกว่า สมเด็จพระราชาธิบดี หรือ ยังดี เปอร์กวน อากง (Yang di pertuan Agong) ซึ่งเลือกจากเจ้าครองรัฐต่างๆ ผลัดเวียนกันทุกๆ 5 ปี ส่วนระบบรัฐบาล มัทั้งรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐและรัฐบาลแห่งรัฐปกครองแบบรัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา โดยมีนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุดของฝ่ายบริหารโดยประมุขของประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง
       มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ ซึ่งแต่ละรัฐมีผู้ปกครองรัฐของตน และมี เขตที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ

ประวัติของประเทศ
     • มาเลเซียเคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2054 โดยถูก โปรตุเกส ยึดครองช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสำคัญในขณะนั้น และต่อมาตกเป็นของ ชาวดัตช์หรือเนเธอร์แลนด์
     • ใน พ.ศ. 2359 ไทยหรือสยาม ได้ ไทรบุรี (เกดะห์) กลันตัน และตรังกานู เป็นเมืองขึ้น
     • พ.ศ. 2367 อังกฤษ เข้ายึดครองต่อจากดัตช์และได้จัดตั้งเขตปกครองรวม ปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ เรียกว่า เขตจัดตั้งช่องแคบ (The Straits Settlements)
     • มาเลเซียได้รับเอกราชในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 โดยใช้ชื่อประเทศว่า สหพันธรัฐมาลายา และมีนายกรัฐมนตรีคนแรกชื่อ ตนกู อับดุล ราห์มาน
     • พ.ศ. 2506 ได้มีการรวมสหพันธรัฐมาลายา สิงคโปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกันเป็น สหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งต่อมาบรูไนและสิงคโปร์ได้แยกตัวออกเป็นอิสระภายหลัง
บุคคลสำคัญ
ดร. มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด (Dr.Mahathir bin Mohammad)
นายกรัฐมนตรีคนที่ ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด เป็นผู้วางรากฐานพัฒนาประเทศในรูปแบบของแผนพัฒนาประเทศที่มีชื่อว่า VISION 2020 ซึ่งเป็นผู้นำมาเลเซียสู่ความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ

ตนกู อับดุล ราห์มาน  (Tunku Abdul Rahman)
      นำมาเลเซียไปสู่เอกราชและเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของประเทศ (Bapa of Malaysia)

มาเลเซียกับประชาคมอาเซียน
 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยมีบทบาทสำคัญคือ เป็นประเทศผู้ประสานงานหลักใน สาขาสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์ยางกับสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อเป็นฐานร่วมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
       ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500และได้พัฒนาความสัมพันธ์จนมีความใกล้ชิดกันมาก เนื่องจากไทยและมาเลเซียต่างก็มีผลประโยชน์และทำข้อตกลงร่วมกันไว้ในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ และคมนาคม เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือระหว่างกัน แต่แม้ทั้งสองประเทศต้องร่วมกันแก้ไข เพื่อสร้างความไว้วางใจต่อกัน เช่น ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ปัญหาการปักปันเขตแดนทางบกและทางน้ำ ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ และปัญหาการลักลอบค้ายาเสพติด เป็นต้น

อาหารประจำชาติ

ชุดประจำชาติ
หญิง สวมเสื้อ บาราจูกุง” ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวที่มีขนาดตัวยาวถึงเข่า หรือเสื้อ คะบาย่า” ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวสีสันสดใสและมีลายฉลุดอกไม้ ขนาดพอดีตัวปิดถึงสะโพก และนุ่งกับโสร่งที่มีลวดลายเข้ากับเสื้อ บางครั้งมีผ้าคล้องคอ และสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าส้นสูงแบบสากล
ชาย สวมเสื้อแขนยาวแบบคอปิดติดกระดุม และนุ่งกางเกงยาวสีเดียวกับเสื้อ ที่เรียกว่าชุด บาจูมลายู” ซึ่งมีผ้าคาดทับเอว และสวมหมวกแบบมุสลิมที่เรียกว่า ซอเกาะสวมรองเท้าหนังแบบสากล 

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
            ด้วยเหตุที่มีหลายชนชาติอยู่รวมกัน ทำให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายผสมผสานกัน ซึ่งมีทั้งการผสานศิลปวัฒนธรรมจากชนชาติอื่น และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชนแต่ละกลุ่มในแต่ละพื้นที่
       การรำซาปิน  (Zapin) เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำทั่ได้รับอิทธิพลมากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบียน และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว
       เทศกาลทาเดา คาอามาตัน  (Tadau Kaamatan)  เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาร์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูกาลการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองด้วยิ์
สกุลเงิน ริงกิต  (Ringgit) ตัวย่อ MYR
อัตราการแลกเปลี่ยน 1 ริงกิต = 10 บาท
          3.8 ริงกิต = 1 ดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก