หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้อมูลประเทศอาเซียน ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)






ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

ธงชาติ
ชื่อทางการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
เมืองหลวง มะนิลา (Manila)
ศาสนาประจำชาติ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอริกู
วันชาติ 12   มิถุนายน
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (สมาชิกก่อตั้ง) 
ภาษาประจำชาติ ภาษาฟิลิปิโน
ภาษาราชการ ภาษาฟิลิปิโน และ ภาษาอังกฤษ




ตราแผ่นดิน

แผ่นที่ประเทศ


ดอกไม้ประจำชาติ พุดแก้ว (Sampaguita Jasmine)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
            ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีมากถึง 7,107 เกาะ ซึ่งเมื่อรวมแล้วจะมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (เป็นพ้นดิน 298,170ตารางกิโลเมตร) ถ้าลองเทียบขนาดแล้วก็จะมีขนาด 3 ใน 5 ของประเทศไทย
       ประเทศแห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับทะเลจีนใต้ ทางทิศใต้และทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
ภูมิประเทศ
             หมู่เกาะของฟิลิปปินส์จะเป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ ทำให้มักเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อยครั้ง และในปัจจุบันนี้ก็ยังมีภูเขาไฟที่พร้อมจะปะทุอยู่อย่างน้อย 22 ลูก โดยเฉพาะภูเขาไฟมายอน (Mayon) พินาตูโบ (Pinatubo) และทาล (Taal)นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังมีที่ราบแคบๆ ซึ่งจะมีที่ราบที่สำคัญ คือ ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอนที่เรียกว่า ที่ราบมะนิลา ถือเป้นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด
       ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่เกาะหลักๆ คือ ลูซอน (Luzon) เป็นหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศ วิสายาส์ (Visayas) อยู่ทางตอนกลางของประเทศ และ มินดาเนา (Mindanao) อยู่ทางตอนใต้
ภูมิอากาศ
            ฟิลิปปินส์อยู่ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน (ช่วงเดือนมีนาคม พฤษภาคม) ฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม) ฤดูหนาว (ช่วงเดือนพฤศจิกายน กุมภาพันธ์) และจากผลของการอยู่ในเขตมรสุม ฟิลิปปินส์จึงต้องประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้งจากพายุและไต้ฝุ่น

ประชากร
       มีจำนวนประชากรประมาณ 94 ล้านคน ซึ่งชนส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ที่เรียกว่า ชาวมลายู” และรองลงมาจะเป็นลูกครึ่งจีน ลูกครึ่งสเปน และลูกครึ่งอเมริกัน

การเมืองการปกครอง
             ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ ฟิลิปปินส์จะแบ่งออกเป็น 17 เขต (79จังหวัด และ 117 เมือง) โดยแบ่งเป็น หมู่เกาะลูซอน (Luzon) มี เขต หมู่เกาะวิสายาส์ (Visayas) มี เขต และหมู่เกาะมินดาเนา (Mindanao) มี เขต

ประวัติของประเทศ
     • เมื่อ พ.ศ. 2064 หลังจากที่เฟอร์ดินานด์ มาเจแลน (Ferdinand Magellan) นักสำรวจชาวโปรตุเกสค้นพบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ทำให้ชาวตะวันตกได้รู้จักหมู่เกาะฟิลิปปินส์
     • สเปนพยายามเข้ามาทำให้คนพื้นเมืองหันมานับถือศาสนาคริสต์จนทำให้เกิดความขัดแย้ง และในที่สุดสเปนก็เข้ามายึดครองฟิลิปปินส์ยาวนานกว่า 300 ปี
     • ต่อมาเกิดขบวนการเรียกร้องอิสรภาพที่นำโดยโฮเซ รัชัล (Jose Rizal) ปัญญาชนชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งก็ได้รับโทษประหารชีวิตในเวลาต่อมา
     • ใน พ.ศ. 2441 สหรัฐอเมริกาและสเปนเกิดความขัดแย้งกันจนเกิดเป็นสงคราม แล้วสหรัฐก็ได้เข้ามาครองฟิลิปปินส์แทนสเปนนานถึง 14 ปี (ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2442 – พ.ศ.2456)
     • หลังจากนั้น ก็เกิดสงครามต่อต้านสหรัฐฯ ที่เรียกว่า Philippine – American War ก่อนจะได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในวันที่ กรกฎาคม พ.ศ. 2489

บุคคลสำคัญ
โฮเซ รัชัล (Jose Rizal)
        เป็นนักเขียนและวีรบุรุษคนสำคัญในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสเปน เขาเสียชีวิตจากการตัดสินโทษระหาร ซึ่งส่งผลให้ชาวฟิลิปปินส์ลุกขึ้นสู้จนขับไล่สเปนออกไปได้

รามอน แมกไซไซ (Ramon del Fierro Magsaysay)
          อดีตประธานาธิบดีคนที่ ของฟิลิปปินส์ เป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช และอุทิศตนช่วยเหลือผู้ยากไร้ในประเทศเหล่าประชาชนจึงยกย่องให้เขาเป็นวีรบุรุษ และมีการจัดตั้ง มูลนิธิรางวัลรามอน แมกไซไซ (Ramon Magsaysay Award Foundation)” เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นเกียรติแก่นายมารอน ซึ่งต่อมาก็มีการมอบรางวัลแมกไซไซ” ให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม ซึ่งรางวัลนี้ก็เปรียบได้กับรางวัลโนเบลแห่งเอเชีย

คอรีย์ อากีโน (Cory Aquino)
         ประธานาธิบดีคนที่ 11 ของฟิลิปปินส์ หลังจากเป็นผู้นำประชาชนเดินขบวนประท้วงโค่นล้มอำนาจของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ที่สำคัญคือเธอเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศฟิลิปปินส์และเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของทวีปเอเชีย

ฟิลิปปินส์กับประชาคมอาเซียน
              ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับไทย โดยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2510 ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในอาเซียน ได้แก่ เป็นผู้ประสานงานการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ส่งเสริมการจัดทำแนวทางปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in South China Sea) และยังเป็นผู้สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนอีกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์
              ไทยและฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์กันในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังเป็นแนวร่วมของไทย เนื่องจากมีทัศนคติและแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเรื่องของประชาธิปไตยและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และฟิลิปปินส์ก็เป็นประเทศแรกที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492
       ในโอกาสการฉลองครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ก็ได้จัดทำแสตมป์ที่ระลึกและใช้ชื่อประเทศไทยเป็นชื่อถนน ถนน Rada (Thailand) Street ในกรุงมะนิลา นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งวงเวียนมิตรภาพฟิลิปปินส์ ไทยที่กรุงมะนิลาอีกด้วย ส่วนไทยก็ได้เปลี่ยนชื่อซอยข้างสถานเอกอุครราชทูตฟิลิปปินส์ในกรุงเทพฯ (ซอยสุขุมวิท 30/1) เป็นซอยฟิลิปปินส์

อาหารประจำชาติ 

ชุดประจำชาติ
หญิง นุ่งกระโปรงยาวและสวมเสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาบินตาวัก (Balintawak)
ชาย ใส่กางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่าบาลองตากาล็อก (Barong Tagalog)

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
            วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่

เทศกาลอาติ – อาติหาน  (Ati - Atihan)
       จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)
เทศกาลชินูล็อก  (Sinulog)
       งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)
เทศกาลดินาญัง  (Dinagyang)
       งานนี้จะจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลชินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)
สกุลเงิน เปโซฟิลิปปินส์ (Philippine Peso - PHP)
อัตราการแลกเปลี่ยน 1.4 เปโซ = 1 บาท
          43 เปโซ = 1 ดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ  








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก