หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้อมูลประเทศอาเซียน ประเทศเมียนมาร์ (Myanmar)






ประเทศเมียนมาร์ (Myanmar)


ชื่อทางการ   สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of the Myanmar)
เมืองหลวง  เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) (เมืองหลวงเดิม คือ ย่างกุ้ง)
ศาสนาประจำชาติ  ศาสนาพุทธ
วันชาติ  4 มกราคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน  23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
ภาษาประจำชาติ  ภาษาเมียนมาร์
ภาษาราชการ  ภาษาเมียนมาร์




ตราแผ่นดิน
แผนที่ประเทศ


ดอกไม้ประจำชาติ  ดอกประดู่ (Pradauk)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ 
พม่ามีพื้นที่ประมาณ 657,740 ตารางกิโลเมตร์
 ภูมิประเทศ  ทิศเหนือ            ติดกับจีนและธิเบต
  ทิศตะวันตก    ติดกับอินเดียและบังกลาเทศก์
  ทิศตะวันออก  ติดกับลาวและไทย
                          ทิศใต้    ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
ภูมิอากาศ  แบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน และหนาว ซึ่งสภาพอากาศจะแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ โดยพื้นที่สูงจะหนาวเย็น พื้นที่ภาคกลางจะแห้งแล้งกว่าแถบชายฝั่งทะเลตอนใต้
ประชากร  มีจำนวนประชากรประมาณ 55 ล้านคน มีหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติเมียนมาร์ รองลงมา คือ ไทยใหญ่ มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ไทย และชิน
การเมืองการปกครอง  มีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาประชาชน สภาชาติพันธุ์ และสภาท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล แบ่งการปกครองเป็น รัฐ ตามกลุ่มเชื้อชาติที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในแต่ละรัฐและแบ่งเป็น ภาค ในเขตพื้นที่ราบลุ่มที่ประชากรเชื้อสายเมียนมาร์อาศัยเป็นส่วนใหญ่
ประวัติของประเทศ
     • ชนเผ่ามอญเข้ามาตั้งรกรากในพม่า หลังจากนั้นดินแดนนี้ก็ถูกชนชาติต่างๆ เข้ามาผลัดเปลี่ยนยึดครองจนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ พ.ศ. 2429
     • ต่อมามีการก่อตั้งกลุ่มสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ โดยคณะของอองซาน เพื่อเจรจาเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ
     • พม่าได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491
     • พ.ศ. 2505 นายพลเนวินก่อตั้งรัฐประหาร ปกครองพม่าแบบเผด็จการและปิดประเทศ
     • พ.ศ. 2531 เกิดเหตุการณ์ 8888 (8 สิงหาคม พ.ศ. 1988) ที่ทหารฆ่าประชาชนจำนวนมาก
     • พ.ศ. 2532 พม่าเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “Burma” เป็น “Myanmar” และสภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติหรอสลอร์กจัดให้มีการเลือกตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
     • สภาสลอร์กไม่ยอมรับชัยชนะของนางอองซานซูจี และสั่งกักบริเวณนาง
     • สภาสลอร์กเปลี่ยนชื่อเป็นสภาแห่งสันติภาพและพัฒนาประเทศและถูกประกาศให้สันติภาพไปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554
     • รัฐบาลชุดแรกนำโดยพลเอก เต็ง เส่ง ปกครองประเทศและเปลี่ยนชื่อจาก สหภาพพม่า” เป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
     • ปัจจุบันนางอองซานซูจีได้รับการปล่อยตัวแล้วและพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีของนางก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ เมษายน พ.ศ. 2555
บุคคลสำคัญ
นายพล ออง ซาน (Aung San) หรือ อู ออง ซาน (U Aung San) 
 เป็นนักปฏิวัติและผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของพม่า โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์
      
ออง ซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) 
บุตรสาวของนายพล ออง ซาน เป็นผู้นำการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร และได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ใน พ.ศ. 2534
พม่ากับประชาคมอาเซียน
 ความสัมพันธ์กับอาเซียน
เมียนมาร์ได้รับมอบหมายให้เป็นประเทศผู้ที่ประสานงานหลักใน สาขา คือ ผลิตภัณฑ์การเกษตร การประมง ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเมียนมาร์เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2491 โดยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เช่น การทำข้อตกลงการข้าระหว่างกัน เพื่อร่วมมือและแก้ไขปัญหาทางการค้า โดยที่ไทยมีมูลค่าการลงทุนในเมียนมาร์เป็นลำดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และอังกฤษ การพัฒนาโครงข่ายเส้นทางคมนาคม เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรมและเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงแนวเส้นทางพื้นที่เศรษฐกิจระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทย และยังมีการสร้างเส้นทางถนนสามฝ่าย เชื่อมโยงไทย – เมียนมาร์ – อินเดีย ซึ่งรัฐบาลไทยช่วยเหลือแบให้เปล่า นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในด้านการแก้ปัญหาต่างด้าว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ความร่วมมือด้านยาเสพติดเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ รวมทั้งความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว และความร่วมมือวิชาการ

อาหารประจำชาติ

ชุดประจำชาติ
หญิง สวมเสื้อข้างในเป็นคอกลม เอวสั้น มีเสื้อนอกแขนกระบอกยาวซึ่งนิยมใช้ผ้าเนื้อบาง ลายลูกไม้สีสดใสเข้ากับสีของ ลองยี” หรือโสร่งที่ยาวจรดข้อเท้าที่ต้องเหน็บชายผ้าไว้ที่เอวให้แน่นโดยไม่ใช้เข็มขัด อาจมีผ้าบางคล้องไหล่ และสวมรองเท้าแตะ
ชาย สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น ติดกระดุมป้ายมาด้านข้างแบบจีนที่เรียกว่า กุยตั๋งหรืออาจจะใส่เสื้อตัวยาวถึงสะโพก ติดกระดุมตรงกลางที่เรียกว่า กุยเฮง” นุ่งโสร่งลองยี และมีผ้าแพรสีขาวหรือสีชมพูโพกศีรษะ และสวมรองเท้าแตะ

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน อินเดีย และไทยมานาน จึงมีการผสานวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ากับวัฒนธรรมของตนจนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงเกิดประเพณีสำคัญ เช่น
ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long) หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว
งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี ซึ่งแต่ละที่นิยมจัดในเดือนหลัออกพรรษา ถือเป็นงงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนานและได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย
สกุลเงิน           จ๊าต (Kyat) ตัวย่อ MMK
อัตราการแลกเปลี่ยน    4.8 จ๊าต =  1 บาท
                        1,200 จ๊าต = 1 ดอลลาร์สหรัฐ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก